วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

แต่งกับฝรั่ง

แต่งกับฝรั่ง

ความรักไม่มีพรมแดนมานานก่อนยุคโลกไร้พรมแดนเสียอีก เมื่อศรรักปักอกปักใจว่าตะแต่งงานกับชายคนนี้เท่านั้นแล้วเกิดเป็นฝรั่งตาน้ำข้าวหรือชาวอื่นที่ไม่ใช่ชาวไทย ก็เริ่มสับสนหัวใจว่าจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่

แท้จริงแล้ว จะจดกับประเทศไหนก็มีผลตามกฎหมายทั้งนั้น ทั้งหญิงและชายที่ได้สามีหรือภรรยาเป็นชาวต่างชาติ คือไม่มีสัญชาติไทยจะแต่งงานที่ประเทศไหนก็ได้ทั้งนั้น ถ้าจดตามประเทศของเขาหรือเธอ กฎหมายไทยก็รับรองสถานภาพของคู่นี้ว่าเป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย โดยไม่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย แต่ถ้าอยากจะแต่งให้ครบก็ทำได้โดยการไปจดทะเบียนที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ หรือถ้าอยู่ต่างประเทศ ก็ไปที่สถานกงศุลไทยในประเทศนั้น ไม่ยุ่งยากอย่างที่กังวลเลยที่กล่าวว่าจดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศอื่นแล้วจะจดที่ไทยบ้างนั้น ไม่ต้องไปทำเป็นทะเบียนสมรส เพียงแค่จดทะเบียน ฐานะครอบครัวก็พอ นายทะเบียนก็จะบันทึกหลักฐานเอาไว้ และมอบเอกสารให้เก็บคนละฉบับ แต่ต้องแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า ได้แต่งงานตามกฎหมายของประเทศไหนไปแล้ว

บางคู่นึกอยากกิ๊บเก๋ไปจดทะเบียนสมรสในประเทศอื่น เช่น ไทยกับอเมริกัน แต่งงานกันที่ออสเตเรีย อย่างนี้ก็ยังมีสถานะเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายที่ประเทศไทยยอมรับ และที่ว่าจดทะเบียนก็อาจไม่ใช่เพราะกฎหมายประเทศนั้นมีแบบพิธีเป็นอย่างอื่นถ้าได้ทำตามแบบของเขาแล้ว ก็ถือเป็นใช้ได้เมื่อได้แต่งงานเรียบร้อยโรงเรียนฝรั่งหรือไทยแล้ว ความสัมพันธ์ทางกฎหมายก็ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งสัญชาติของสามี อย่างนี้หญิงไทยจะมีสามีเป็นชาวต่างชาติก็ต้องรู้กฎหมายในเรื่องนี้ไว้ด้วย โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินเงินทองที่ต้องเป็นไปตามเขาเว้นเสียแต่เป็นเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ คือ บรรดาที่ดินทั้งหลายก็ให้ใช้กฎหมายที่ที่ดินตั้งอยู่นั้นมาบังคับอยู่กันไปก็ยุ่งยากนัก อยากจะเลิกหรือหย่าล้างขึ้นมา ก็ต้องไปว่ากันตามกฎหมายที่ไปจดไปแต่ง ซึ่งเมื่อทำแล้วกฎหมายไทยก็ยอมรับสถานะว่าเป็นหม้ายแล้วเหมือนกัน แต่ถ้าจะหย่ากันก็ต้องได้ความว่า กฎหมายของประเทศทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่ากันได้ไม่เช่นนั้นจะลำบาก เป็นอันว่าเขาก็ต้องรู้กฎหมายไทยบ้างเหมือนกันนั่นเป็นเรื่องหย่าโดยความยินยอม แต่ถ้าการหย่าชนิดที่มีเรื่องทะเลาะกันจนต้องฟ้องร้องศาล หากอยู่ที่เมืองไทยก็ฟ้องได้ไม่ว่ากัน เพียงแต่ต้องให้ได้ความว่ากฎหมายแห่งสัญชาติของทั้งสามีและภรรยา ยอมให้หย่าได้ และให้ใช้เหตุหย่าตามกฎหมายไทย

การแต่งการหย่านี้ ต่อให้ฝรั่งต่างชาติแต่งงานกันโดยไม่ได้ผูกพันมีสัญชาติไทย ก็สามารถจดทะเบียนได้ แต่ต้องให้ได้ความว่ากฎหมายของประเทศเหล่านั้นยอมให้แต่งได้ หรือว่าแต่งตามกฎหมายเขาแล้ว ทะเลาะเบาะแวงในเมืองไทย รอไปหย่าที่ไหนไม่ทันใจแล้วจะต้องฟ้องศาลไทยก็ทำได้เช่นกันกฎหมายออกมาแบบนี้ เป็นการประกันความมั่นคงของครอบครัวได้ ไม่ต้องกังวลว่าสามีภรรยาคู่ไหน ที่เข้ามาในประเทศไทยแล้วไม่ได้แต่งงานตามกฎหมายไทยจะกลายเป็นคนไร้คู่ตามกฎหมาย และสาวไทยหรือหนุ่มไทยหน้าไหนที่มาแย่งสามีหรือภรรยาของเราไป ไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวรก็จะมาอ้างกฎหมายไทยว่า ไม่มีทะเบียนสมรสไม่ได้ ถ้ารู้อยู่ว่าเขาหรือเธอนั้นมีคู่สมรสเป็นตัวเป็นตนแล้วเมื่อได้คำพิพากษาว่าหย่าแล้ว ต้องนำไปจัดการตามแบบของกฎหมายที่ประเทศนั้นๆ บางคนไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย แต่อยากจดทะเบียนหย่าไว้เป็นหลักฐานก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องจดทะเบียนฐานะครอบครัว แล้วค่อยจดทะเบียนหย่า ก็จะได้ทะเบียนหย่ามาใส่กรอบไว้ที่หัวเตียงตามประสงค์

ความรักมักไม่เลือสัญชาติ แต่เรื่องของโอกาสและสิทธิทางกฎหมายนั้น เลือกกันได้ จะแต่งกับคนไทยหรือฝรั่งก็ระวังข้อกฎหมายไว้เป็นดี

ว่าด้วยกฏหมายมรดก

วันนี้ขอเน้นเนื้อหาสาระหละกกฏหมายนิดนึงน่ะค่ะ อย่าพึ่งเบื่อน่ะค่ะ อยากให้อ่านจริงๆ อาจจะใช้ประโยชน์น่ะค่ะ

กฏหมายมรดก

การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก

มาตรา 1599* เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาททายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา 1600* ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด ได้แก่ตน

มาตรา 1602 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ ทายาท

ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดไป จากเวลาดั่งระบุไว้ในคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับแก่ทายาทของบุคคลนั้น

มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตาม กฎหมายหรือโดยพินัยกรรม

ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม"

ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม"

การเป็นทายาท

มาตรา 1604* บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคล หรือสามารถมีสิทธิได้ตาม มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายใน สามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารก ในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

มาตรา 1605* ทายาทคนใดยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่า ส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อม ประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลยแต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตน จะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้าย หรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรม ยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น

มาตรา 1606* บุคคลดั่งต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็น ผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายาม กระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดย มิชอบด้วยกฎหมาย

(2) ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเอง กลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ

(3) ผู้ที่รู้แล้วว่า เจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้น ขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริ ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้ สืบสันดานของตนโดยตรง

(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลง พินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทำ การดั่งกล่าวนั้น

(5) ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด

เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้ โดยให้อภัย ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

มาตรา 1607 การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบ สันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตาย แล้ว แต่ในส่วนทรัพย์สินซึ่งผู้สืบสันดานได้รับมรดกมาเช่นนี้ทายาทที่ว่า นั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุไว้ในบรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้ มาตรา 1548 บังคับ โดยอนุโลม

การตัดมิให้รับมรดก

มาตรา 1608* เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับ มรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน

แต่เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็น ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก

มาตรา 1609* การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้น จะถอนเสียก็ได้

ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่ โดยพินัยกรรมเท่านั้น แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 1608 (1) หรือ (2) ก็ได้

การสละมรดกและอื่นๆ

มาตรา 1610 ถ้ามรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริตหรือ บุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่ง มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้ และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรม หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงาน อัยการร้องขอ ก็ให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี

มาตรา 1611 ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่ สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่ง มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะทำการดั่งต่อไปนี้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับ ความยินยอมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีและได้รับอนุมัติจากศาลแล้ว คือ

(1) สละมรดก

(2) รับมรดกอันมีค่าภาระติดพันหรือเงื่อนไข

มาตรา 1612* การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมี เงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้

การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้

มาตรา 1614 ถ้าทายาทสละมรดกด้วยวิธีใดโดยที่รู้อยู่ว่าการที่ทำเช่น นั้นจะทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอน การสละมรดกนั้นเสียได้ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะ ที่สละมรดกนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วยแต่หากกรณีเป็นการสละ มรดกโดยเสน่หาเพียงแต่ทายาทผู้สละมรดกเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอ แล้วที่จะขอเพิกถอนได้

เมื่อได้เพิกถอนการสละมรดกแล้ว เจ้าหนี้จะร้องขอให้ศาลสั่งเพื่อให้ตน รับมรดกแทนที่ทายาทและในสิทธิของทายาทนั้นก็ได้

ในกรณีเช่นนี้ เมื่อได้ชำระหนี้ของทายาทนั้นให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ถ้าส่วน ของทายาทนั้นยังมีเหลืออยู่อีก ก็ให้ได้แก่ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นหรือ ทายาทอื่นของเจ้ามรดกแล้วแต่กรณี

มาตรา 1615* การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้า มรดกตาย

เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบ มรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละ มรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น

มาตรา 1616 ถ้าผู้สืบสันดานของผู้สละมรดกได้มรดกมาดั่งกล่าว ไว้ใน มาตรา 1615 แล้ว ผู้ที่ได้สละมรดกนั้นไม่มีสิทธิในส่วนทรัพย์สิน อันผู้สืบสันดานของตนได้รับมรดกมาในอันที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุ ไว้ในบรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกฎหมายนี้และให้ใช้ มาตรา 1548 บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1617 ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก ผู้นั้นรวมตลอดทั้ง ผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น

มาตรา 1618 ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดาน ที่จะรับมรดกได้ หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ ได้สละมรดกนั้น แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป

มาตรา 1619 ผู้ใดจะสละหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการใดซึ่งสิทธิ อันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้

มาตรา 1620* ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรม ไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของ ผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือ มีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่าย โดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรม ตามกฎหมาย

มาตรา 1621 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้แสดงเจตนากำหนดไว้ในพินัย กรรมเป็นอย่างอื่น แม้ทายาทโดยธรรมคนใดจะได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่ง อย่างใดตามพินัยกรรม ทายาทคนนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาส่วนโดย ธรรมของตนจากทรัพย์มรดกส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมจน เต็มอีกก็ได้

มาตรา 1622* พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่ เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้อง ภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 แต่พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้

มาตรา 1623* ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย ไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

มาตรา 1624* ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใด ตามกฎหมายก็ได้

มาตรา 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้วการคิดส่วนแบ่งและการปัน ทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ให้เป็นไปดั่งนี้

(1) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้อยู่ในบังคับ ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการหย่าโดยยินยอม ทั้งสองฝ่ายอันมีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ใน มาตรา 1637 และ 1638 และโดยเฉพาะต้องอยู่ในบังคับแห่ง มาตรา 1513 ถึง 1517 แห่งประมวลกฎหมายนี้แต่การคิดส่วนแบ่งนั้นมีผลตั้งแต่วันที่การ สมรสได้สิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น

(2) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้อยู่ในบังคับของ บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ นอกจาก มาตรา 1637 และ 1638

มาตรา 1626 เมื่อได้ปฏิบัติตาม มาตรา 1625 (1) แล้ว ให้คิดส่วน แบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมดั่งต่อไปนี้

(1) ทรัพย์มรดกนั้นให้แบ่งแก่ทายาทตามลำดับและชั้นต่าง ดั่งที่ บัญญัติไว้ในหมวด 2 แห่งลักษณะนี้

(2) ส่วนแบ่งอันจะได้แก่ทายาทในลำดับและชั้นต่าง นั้นให้แบ่ง ในระหว่างบรรดาทายาทในลำดับและชั้นนั้น ดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 แห่งลักษณะนี้

มาตรา 1627* บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1628* สามีภริยาที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาด จากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกัน และกัน

การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท โดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง

มาตรา 1629* ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

มาตรา 1630* ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลยแต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้า มรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ใน ชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทน

การแบ่งทรัพย์มรดกของทายาทโดยธรรม ในลำดับและชั้นต่าง

ญาติ

มาตรา 1632 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 1629 วรรคสุดท้ายการแบ่ง ส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับญาติให้เป็นไปตามบทบัญญัติใน ส่วนที่ 1 แห่งหมวดนี้

มาตรา 1633* ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่ง ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 นั้นชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าใน ลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา 1634 ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่ง ของสายหนึ่ง ตามบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกดั่งนี้

(1) ถ้ามีผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน บุตรของผู้ตายซึ่งอยู่ในชั้นสนิทที่สุด เท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่ โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่

(2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน

(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

คู่สมรส

มาตรา 1635* ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

(2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

(3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม

(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

มาตรา 1636 ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 หลายคนยังมีชีวิตอยู่ ภริยาเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันมีสิทธิได้รับมรดกตามลำดับชั้นและส่วน แบ่งดั่งระบุไว้ใน มาตรา 1635 แต่ในระหว่างกันเองให้ภริยาน้อย แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งส่วนที่ภริยาหลวงจะพึงได้รับ

มาตรา 1637 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้รับประโยชน์ ตามสัญญาประกันชีวิต คู่สมรสฝ่ายนั้นมีสิทธิรับจำนวนเงินทั้งหมดที่ ได้ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัย แต่จำต้องเอาจำนวนเบี้ยประกันภัยเพียงเท่าที่พิสูจน์ได้ว่าสูงกว่าจำนวนเงินที่ผู้ตายจะพึงส่งใช้เป็นเบี้ย ประกันภัยได้ตามรายได้หรือฐานะของตนโดยปกติไปชดใช้สินเดิมของ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือสินสมรสแล้วแต่กรณี

ถึงอย่างไรก็ดี จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งจะพึงส่งคืนตามบท บัญญัติข้างต้นนั้น รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัย ได้ชำระให้

มาตรา 1638 เมื่อคู่สมรสทั้งสองฝ่ายได้ลงทุนออกเงินในการทำสัญญา และตามสัญญานั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับเงินปีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ร่วม กันและเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ยังจะต้องได้รับเงินปี ต่อไปตลอดอายุ ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จำต้องชดใช้สินเดิมของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือสินสมรสแล้วแต่กรณี สุดแต่ว่าได้เอาเงินสินเดิมหรือสินสมรสไปใช้ใน การลงทุนนั้น เงินที่จะต้องชดใช้สินเดิมหรือสินสมรสดั่งว่านี้ ให้ชดใช้เท่า จำนวนเงินซึ่งผู้จ่ายเงินรายปีจะเรียกให้ใช้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อผู้จ่าย จะได้เงินรายปีให้แก่คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นต่อไป

การรับมรดกแทนที่กัน

มาตรา 1639* ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามn มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตายถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทน ที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา 1640 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้

มาตรา 1641 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (2) หรือ(5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้ แก่ทายาทนั้นเท่านั้นห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป

มาตรา 1642* การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่าง ทายาทโดยธรรม

มาตรา 1643 สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบ สันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่

มาตรา 1644 ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิ บริบูรณ์ในการรับมรดก

มาตรา 1645* การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบ มรดกบุคคลอื่น

การเพิกถอนและการตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม

มาตรา 1693 ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้

มาตรา 1694 ถ้าจะเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเสียทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนด้วยพินัยกรรมฉบับหลัง การเพิกถอนจะสมบูรณ์ต่อเมื่อ พินัยกรรมฉบับหลังนั้นได้ทำตามแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้

มาตรา 1695 ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับแต่ฉบับเดียวผู้ทำ พินัยกรรมอาจเพิกถอนพินัยกรรมนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดย ทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ

ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับหลายฉบับ การเพิกถอนนั้นไม่ บริบูรณ์เว้นแต่จะได้กระทำแก่ต้นฉบับเหล่านั้นทุกฉบับ

มาตรา 1696 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมใดด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนด พินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป

วิธีเดียวกันนี้ให้ใช้บังคับ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ทำลายทรัพย์สิน นั้นด้วยความตั้งใจ

มาตรา 1697 ถ้าผู้รับพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรม เป็นอย่างอื่นและปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ให้ ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง เฉพาะในส่วนที่ข้อความขัดกันนั้นเท่านั้น

มาตรา 1698* ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

(2) มื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใด อย่างหนึ่งเสร็จสิ้นลง และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จหรือ ปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้

(3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม

(4) เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัย กรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรม มิได้ได้มาซึ่งของแทน หรือซึ่งสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์สินนั้น สูญหายไป

มาตรา 1699* ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใด ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาท โดยธรรม หรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

มรดกที่ไม่มีผู้รับ

มาตรา 1753* ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกเมื่อ บุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

สินสมรส VS สินส่วนตัว แถมด้วยสมรสซ่อนค่ะ

เงินทองเป็นของนอกกาย แต่ก็น้อยคนนักที่จะหักใจ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง หรือ พ่อแม่ลูกก็ตาม เงินก็ทำให้ความรักของคนเหล่านั้นหดหายไปได้หลายคู่ที่แต่งงานโดยไม่ได้คำนึงถึงเธอรวย หรือ ฉันจน หรือใครจะคุมกองคลังของครอบครัว แต่เมื่อความรักล่มสลายทั้งสองฝ่ายต่างต้องประหลาดใจที่กฎหมายระบุต่างจากที่น่าจะเป็น หลายรายเป็นฝ่ายเข้ามาควบคุมกำกับดูแลการใช้จ่ายในครอบครัว แต่เอาเข้าจริงกลับต้องสูญเสียสิ่งที่คิดว่าเป็นสิทธิของตัวเอง เพราะกฎหมายกับความเข้มใจนั้นเป็นคนละเรื่องเดียวกัน

เมื่อแต่งงานกันแล้ว ทรัพย์สินจะถูกจัดสรรเป็นส่วน คือ

1. ส่วนที่เป็นสินสมรส (คือ เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน มีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง) กับ

2. ส่วนที่เป็นสินส่วนตัว (คือ เป็นทรัพย์สินของใครของมัน ไม่กระเด็นไปยังภรรยาหรือสามี)แต่อาจจะสับสนบ้างว่า อย่างไหนที่จะส่วนตัว อย่างไหนที่จะร่วมกันเป็นเจ้าของตามกฤหมาย

สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส และบรรดาที่เป็นสินส่วนตัวด้วย ส่วนสินส่วนตัวนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วก่อนสมรส หรือบรรดาที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัวทั้งหลาย จนถึงเครื่องประดับตามฐานะ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่านอกจากนั้นแล้ว กฎหมายยังขยายความถึงทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสที่มีคนยกให้หรือได้มรดกมาด้วย แต่ถ้ายกให้หรือเป็นมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุว่าให้เป็นสินสมรส ก็ต้องเป็นสินสมรส

เรามักได้ยินข่าวที่พ่อแม่ไม่อยากยกที่ดินให้ลูกสาวที่แต่งงานแล้ว เพราะกลัวจะกลายเป็นสินสมรส แท้จริงแล้ว การยกให้ในระหว่างสมรส ไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรส เว้นเสียแต่ระบุในหนังสือยกให้ว่าเป็นสินสมรส ยิ่งถ้าเป็นมรดกก็แน่นอนที่จะเป็นสินส่วนตัว คู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งในสินส่วนตัวต่อเมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว สินส่วนตัวจึงกลายเป็นมรดกเวลาจะแต่งงานก็ไม่ค่อยคิดเรื่องนี้ จะมานึกออกก็ตอนต้องแบ่งสมบัติ ซึ่งมักจะแบ่งตอนที่ฝ่ายหนึ่งอยากหย่ากับอีกฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะบ้านที่ใช้เป็นเรือนหอของเขาและเธอที่เคยสร้างด้วยเงินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่ง หรือจากการที่พ่อแม่ของฝ่ายหนึ่งยกให้เป็นของขวัญแต่งงานแบบนี้ไม่เหมือนการให้ของขวัญในวันฉลองแต่งงานที่ถือซอง ถือของกันมาเอิกเกริก อย่างนั้นเป็นการให้ที่ชัดเจน ให้แก่คู่บ่าวสาวทั้งสองเนื่องในโอกาสแต่งงาน เป็นสินสมรสแน่นอน แต่ถ้าให้ที่ดิน บ้าน จะให้แน่ต้องสืบตามที่กฎหมายว่าไว้ก็คือ การให้จะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการให้ที่สำนักงานที่ดิน และในการให้ที่จะเป็นสินสมรสนั้น กฎหมายก็เขียนไว้ชัดแจ้งว่า การให้เป็นหนังสือยกให้ต้องระบุว่าเป็นสินสมรส ซึ่งจะเป็นสินสมรส ดังนั้น ถ้าจะให้ใครคนนึงหรือจะให้ทั้งสอง ก็ควรระบุให้ชัดเจน

ยกตัวอย่าง เช่น เสกสรรมีเงินฝากในธนาคารก่อนแต่งงาน เป็นเลข 6 หลัก เขาไม่คิดจะปกปิดภรรยาเพราะทราบดีว่า ถึงรู้ไปก็ไม่น่าเดือดร้อน เพราะเขามีบัญชีร่วมระหว่างเขากับภรรยาแล้ว ส่วนบัญชีเดิมเป็นสินส่วนตัวของเขา แต่หลังจากที่เขากับเธอมีปัญหาจนถึงขั้นแยกทางกัน เงินในบัญชีส่วนตัวของเขาก็ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งสมบัติ และนำไปสู่การฟ้องศาลตามกฎหมาย แม้เงินฝากที่ธนาคารในบัญชีของเสกสรร จะเป็นเงินส่วนตัวที่มีก่อนสมรส แต่ในการฝากเงินย่อมต้องมีดอกผลงอกเงย ภรรยาของเสกสรรไม่ลืมข้อนี้ เธอจึงอ้างเอาดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นสินสมรสมาขอแบ่งด้วยเมื่ออยู่ด้วยกันกว่า 6 ปี จึงมีเงินฝากหลายล้าน งานนี้อดีตคุณผู้หญิงของเสกสรรมีส่วนแบ่งจากดอกเบี้ยไม่น้อยทีเดียวชื่อที่ปรากฏในเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้สินสมรสกลายเป็นสินส่วนตัว เพราะกฎหมายกล่าวว่า ถ้ากรณีที่สงสัยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ฝ่ายที่เถียงว่าไม่ใช่ ต้องมีภาระหน้านที่พิสูจน์ให้ได้ ถ้าเสกสรรเห็นว่าตัวเองทำงานงกเงิ่นอยู่คนเดียว จึงสมควรควบคุมดูแลด้านการเงินทุกอย่างอยู่ในชื่อตัวเขาเอง เงินทองทรัพย์สินเหล่านนั้นก็ยังเป็นสินสมรสอยู่ดี แม้จะไม่มีชื่อภรรยาปรากฏอยู่ก็ตามไม่ว่าจะมีชื่อใครอย่างไร แต่เมื่อเป็นสินสมรสแล้ว กฎหมายให้อำนาจทั้งสองฝ่าย ในการจัดการทรัพย์สินนั้นได้โดยอิสระไม่ต้องมาขออนุมัติก่อน เว้นแต่เสียบางเรื่องที่อาจจะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว กฎหมายก็จะบังคับให้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

สัญญาก่อนสมรส

สัญญาก่อนสมรสต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินอีกนั่นเอง ข้อตกลงพวกนี้ไม่เพียงจะลงชื่อพร้อมพยานเท่านั้น จะต้องนำไปจดแจ้งไว้เป็นหลักฐานในทะเบียนสมรสด้วย จะทำแบบไหนไม่ว่า เช่น ทำเป็นหนังสือสัญญาแล้วนำไปจดในทะเบียนสมรสหรือให้เจ้าหน้าที่นายทะเบียนจดแจ้งให้ก็ได้ การจดแจ้งนี้ต้องทำพร้อมการจดทะเบียนสมรส แน่นอนว่าถ้าทำก่อนก็คงไม่มีใครเขาทำให้ แต่ถ้าทำหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว สัญญานั้นก็จะกลายเป็นสัญญาระหว่างสมรสไป และถ้าไม่จดแจ้งแทงเอาไว้กฎหมายก็ให้สัญญานั้นเป็นโฆษะ

สมรสซ้อน

แต่งงานเป็นเรื่องมงคล หลายคนจึงแต่งงานหลายครั้ง แต่ก่อนที่จะแต่งงานครั้งต่อไป จะต้องเคลียร์การแต่งงานครั้งก่อนเสมอไม่เช่นนั้นบ้านเก่าบ้านใหม่อาจให้โทษได้สำหรับกฎหมายแล้ว การแต่งงาน หมายถึง การจดทะเบียนสมรส การแต่งงานในลักษณะอื่นไม่ได้รับการรับรองทางกฎหมายให้เกิดสถานะสามีภรรยาต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการยกขันหมากแห่รอบหมู่บ้านหรือจัดงานพิธีใหญ่โต กฎหมายไม่ให้สิทธิเรียกร้องอย่างสามีภรรยาหากมีการแต่งงานกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้ามีการจดทะเบียนแล้วเป็นได้เรื่องคนเราอาจมีทะเบียนสมรสหลายใบกับใครหลายคนได้ แต่จะมีในเวลาเดียวกันไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็เข้าข่ายที่เรียกว่าจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายไม่จัดอันดับเบอร์หนึ่งเบอร์สองให้ใครเป็นรองใคร แต่ใช้หลักมาก่อนมีสิทธิก่อนและการมาก่อนนี้ต้องเป็นการมาถึงนายทะเบียนก่อน หากมาอยู่กินเสียก่อนแล้วมัวรอฤกษ์จดทะเบียนหรืออิดเอื้อนเล่นตัวก็อาจได้เลิกรากัน ถ้าเขาหรือเธอไปแอบจดทะเบียนกับคนอื่น คนมาหลังแต่ถึงที่หมายก่อนก็ได้สิทธิไปเพระใบทะเบียนสมรสนั่นเองการจตทะเบียนซ้อนกฎหมายให้เป็นโฆษะไปเลย ไม่ต้องเสียเวลาไปฟ้องร้องให้ศาลสั่งว่าการสมรสรายหลังเป็นโฆษะ ก็คือการสมรสซ้อนเป็นอันเสียเปล่า ไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนที่ว่าจะรู้ไหมว่าซ้อนอย่างไรก็ไม่ต้องวิตกจริตเกินไป ทางการเขาให้ไปตรวจได้ที่สำนักงานทะเบียนราษฎรเพราะถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียแม้การสมรสซ้อนจะเป็นโฆษะโดยผลของกฎหมาย แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้จดแต้งแทงรายการไว้ในทะเบียน ก็จะไปใช้ยันต่อบุคคลภายนอกไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการทางทะเบียนให้เรียบร้อย ไม่เช่นนั้นเกิดคู่โมฆะไปทำนิติกรรมหรือตัดการอะไรไปก็ไม่สามารถอ้างความเป็นโมฆะไปทำนิติกรรมหรือจัดการอะไรไปก็ไม่สามารถอ้างความเป็นโมฆะยันกับคนนอกวงการได้เรื่องทะเบียนซ้อนแบบนี้ไม่ใช่ผู้ชายจะนิยมเท่านั้น หญิงไทยก็ไม่น้อยหน้าเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งก็น่าเห็นใจคู่ที่ไม่ได้รักกันแล้วไม่อยู่ด้วยกันก็มี แต่ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมจดทะเบียนหย่า เพราะหวงก้างไว้ไม่อยากให้ใครมาได้ตำแหน่ง ทั้งที่ตัวก็ไม่ได้อยากอยู่กับเขาหรือเธออีกต่อไป ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอยากหย่า เพราะต้องการไปจดทะเบียนสมรสกับอีกคนหนึ่งเดือดร้อน รอไม่ไหวจึงตัดสินใจจดซ้อนไปเลยนอกจากความเป็นโมฆะแล้ว อาจมีเรื่องอื่นตามมาเป็นผลข้างเคียงแต่ยิ่งใหญ่ เมื่อเจ้าของทะเบียนใบแรกแจ้งให้ใบหลังทราบว่ามีคู่สมรสรายเดียวกันแล้ว หากรายหลังยังทำเฉย อาจถูกเรียกค่าเสียหายจากการไปสัมพันธ์กับสามีหรือภรรยาของเขาได้ ส่วนผู้รักการสะสมทะเบียนสมรสในขณะเดียวกัน นอกจากจะมีเรื่องกับคู่สมรสทั้งสองแล้ว อาจได้คดีอาญามาประดับประวัติอีกด้วย เพราะทะเบียนสมรสเป็นเอกสารทางราชการ การจดทะเบียนก็ทำกับนายทะเบียน การปิดบังความจริงหรือปดกับเจ้าหน้าที่ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้ว ถือว่าให้ข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทางแก้ของผู้ที่พลาดไปแล้ว ก็คือ เริ่มใหม่หมด มีหลายรายที่ใช้วิธีจดทะเบียนหย่ากับคนก่อนเพื่อให้มีทะเบียนสมรสใบเดียวกับคนหลัง อย่างนี้ไม่มีผล เพราะทะเบียนสมรสที่ซ้อนนั้นเป็นโมฆะแต่แรกแล้ว ดังนั้น เมื่อหย่ากับคนก่อนแล้วก็ต้องย้อนมาจดกับคนใหม่ จะใช้ทะเบียนเดิมไม่ได้ ถ้าจะให้ดีก็พากันไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอเสียเลย

การแต่งงานเป็นเรื่องของคนสองคน แต่ถ้าใครไปทำให้เป็นเรื่องของหลายคนแล้ว เรื่องง่ายๆ ก็กลายเป็นยากเพราะอยากมีทะเบียนสมรสนั่นเอง

ยืม VS ฝากทรัพย์

สัญญายืมแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือสัญญายืมใช้คงรูปและสัญญาใช้สิ้นเปลือง

ข้อแตกต่างในสาระสำคัญคือ สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นสัญญาที่ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ประเภทใช้ให้หมดเปลืองไปให้แก่ผู้ยืมไป และผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันเป็นประเภทชนิดเดียวกัน มีปริมาณเท่ากันให้แก่ผู้ให้ยืม แต่สัญญายืมใช้คงรูปนั้นลักษณะของการใช้ทรัพย์มิได้สิ้นเปลืองหมดไป หรือเสียภาวะเสื่อมสลายไป สัญญายืมใช้คงรูปจึงไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันเดียวกับที่ยืมไปนั้นให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อได้ใช้สอยทรัพย์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว

สัญญายืมใช้คงรูปนอกจากจะมีสาระสำคัญตามลักษณะโดยทั่วไปของสัญญายืม กล่าวคือ เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน ซึ่งมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน และมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืมแล้วยังมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญซึ่งแตกต่างไปจากสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทนและเป็นสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์มนทรัพย์สินที่ให้ยืมมิได้โอนไปยังผู้ยืม ผู้ยืมจึงต้องคืนทรัพย์อันเดิมกับที่ได้ยืมไปนั้นให้แก่ผู้ยืม

ยืมใช้สิ้นเปลือง

1. สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองมีลักษณะเฉพาะอันเป็นสาระสำคัญ นอกเหนือไปจากลักษณะทั่วไปของสัญญายืม คือเป็นสัญญาที่อาจมีค่าตอบแทนได้และเป็นสัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมโอนไปยังผู้ยืม วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นทรัพย์ประเภทใช้สิ้นไป ซึ่งอาจใช้ทรัพย์อื่นอันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันแทนได้

2. ผู้ยืมใช้สิ้นเปลืองมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมตามความพอใจโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องการใช้หรือสงวนรักษาทรัพย์สิน แต่ก็มีหน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายตามสัญญา และต้องส่งคืนทรัพย์สินอันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับที่ยืมไปให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อถึงกำหนดเวลาส่งมอบ

3. ผู้ให้ยืมใช้สิ้นเปลืองมีสิทธิเรียกทรัพย์สินคืนหรือเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์สินที่ยืม เมื่อถึงกำหนด เวลาส่งคืน และมีหน้าที่แจ้งความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ยืมซึ่งผู้ให้ยืมได้รู้อยู่แล้วก่อนการส่งมอบให้ผู้ยืมทราบ มิฉะนั้นจะต้องรับผิดต่อผู้ยืมหากเกิดความเสียหายขึ้น

สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนอกจากจะมีสาระสำคัญ อันเป็นลักษณะทั่วไปของสัญญายืมร่วมอยู่กับสัญญายืมใช้คงรูป กล่าวคือ เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนและมีผลบริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืมแล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญที่แตกต่างไปจากสัญญายืมใช้คงรูปโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นอาจเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนก็ได้ และเป็นสัญญาที่ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินประเภทใช้ไปสิ้นไป คือเสื่อมภาวะสลายไปให้แก่ผู้ยืม โดยที่ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับที่ยืมไป ให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อถึงกำหนดจะต้องส่งคืน

สัญญาฝากทรัพย์

1. สัญญาฝากทรัพย์ เป็นชื่อของเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองบุคคลที่เรียกว่า “ผู้ฝาก” กับบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้รับฝาก” โดยกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันตลอดจนความระงับแห่งสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว และข้อกำหนดว่าด้วยอายุความ

2. การฝากเงิน มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการฝากทรัพย์ธรรมดา จึงต้องบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากเงินและผู้รับฝากเงินขึ้นเฉพาะ

3. การฝากทรัพย์กับเจ้าสำนักโรงแรม มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการฝากทรัพย์ธรรมดา กฎหมายได้บัญญัติสิทธิหน้าที่ของคนเดินทางกับเจ้าสำนักโรงแรมขึ้นเฉพาะ และกำหนดอายุความใช้ค่าทดแทนเพื่อทรัพย์สินคนเดินทางสูญหายหรือบุบสลายเป็นกรณีพิเศษไว้ด้วย

ลักษณะทั่วไปของสัญญาฝากทรัพย์

1. ลักษณะของสัญญาฝากทรัพย์นั้น ผู้รับฝากต้องเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้ โดยผู้รับฝากไม่ได้รับบำเหน็จค่าฝาก เว้นแต่มีข้อตกลงหรือพึงคาดหมายได้ โดยพฤติการณ์ว่ามีบำเหน็จค่าฝาก ความบริบูรณ์ของสัญญาฝากทรัพย์นั้น อยู่ที่การส่งมอบทรัพย์สินที่ฝาก โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีแบบพิเศษแต่อย่างใด

2. ผู้รับฝากมีหน้าที่อยู่ 4 ประการคือ สงวนรักษาทรัพย์สินที่ฝาก งดเว้นการใช้สอยทรัพย์สินหรือให้คนอื่นเก็บรักษาทรัพย์ที่ฝาก บอกกล่าวแก่ผู้ฝากเมื่อถูกฟ้องหรือถูกยึดทรัพย์สินที่ฝากและมีหน้าที่คืนทรัพย์สินที่ฝากพร้อมดอกผล ส่วนสิทธิของผู้รับฝากมีอยู่ 4 ประการได้แก่ สิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการคืนทรัพย์และสงวนรักษาทรัพย์ สิทธิเรียกบำเหน็จค่าฝากและสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินที่ฝาก

3. ผู้ฝากมีหน้าที่อยู่ 3 ประการคือ หน้าที่ค่าใช้จ่ายคืนทรัพย์ หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการสงวนรักษาทรัพย์ และหน้าที่ชำระบำเหน็จค่าฝากตามข้อตกลง ส่วนสิทธิของผู้ฝากมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ สิทธิฟ้องบังคับให้สงวนรักษาทรัพย์ ห้ามใช้สอยหรือให้ห้ามคนอื่นเก็บรักษาสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ และสิทธิในการเรียกคืนทรัพย์และดอกผล

4. สัญญาฝากทรัพย์ระงับด้วยเหตุ 4 ประการคือ ระงับตามข้อตกลง ระงับเมื่อส่งทรัพย์คืน ระงับเมื่อทรัพย์สูญหายหรือทำลายไปหมด หรือบุคคลภายนอกยึดทรัพย์ที่รับฝากไปโดยชอบและระงับเมื่อผู้รับฝากตาย

5. อายุความในเรื่องฝากทรัพย์แบ่งเป็นอายุความพิเศษ ซึ่งมีกำหนดเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น กับอายุความเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากซึ่งมีกำหนดเวลา 10 ปี