วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กฎหมาย เกี่ยวกับบัตรเครดิต

การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตซึ่งอาจกำหนดฐานความผิดตามประมวล กฎหมายอาญาได้ ดังนี้

๑. การลักบัตรเครดิตการลักทรัพย์ของผู้อื่นเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔ จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี และปรับไม่เกินหกพันบาท แต่สำหรับกรณีของการลักบัตรเครดิตนั้น ศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการลักทรัพย์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรื่อง นี้พอจะมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่นำมาเทียบเคียงได้คือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙/๒๕๔๓ เป็นกรณีที่บัตร เอ.ที.เอ็ม. ถูกขโมยไป ซึ่งได้วินิจฉัยว่ากรณีนี้เป็นการกระทำความผิดทั้งในเรื่องการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๔ และการเอาเอกสารของผู้อื่นไปตามมาตรา ๑๘๘ โดยศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมาย หลายบทจึงให้ลงโทษบทหนักคือการเอาเอกสารของผู้อื่นไปตามมาตรา ๑๘๘ ส่วนการนำบัตรไปใช้ศาล เห็นว่าความผิดที่เกิดจากการเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปเป็นความผิดที่สำเร็จแล้ว การเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปเบิกเงินเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งถือว่าต่างกรรมต่างวาระกันในกรณีของบัตรเครดิตนั้น เนื่องจากมี ลักษณะการใช้งานเหมือนกับบัตร เอ.ที.เอ็ม. ได้แก่ การสามารถนำบัตรเครดิตไปเบิกเงินได้ บัตรเครดิตจึง น่าจะมีความหมายทั้งที่เป็นทรัพย์และเอกสารเช่นเดียวกับบัตร เอ.ที.เอ็ม และผู้ที่กระทำความผิดโดยการ ลักบัตรเครดิตไปก็น่าที่จะต้องรับผิดในเรื่องการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๔ และการเอาเอกสารของผู้อื่น ไปตามมาตรา ๑๘๘ ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวกับการลักบัตร เครดิต ในอนาคตเมื่อมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นศาลฎีกาอาจมีความเห็นในเรื่องนี้เป็นอย่างอื่นได้นอกจากการลักบัตรที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าของบัตรแล้ว ในเรื่องนี้ยังมีกรณี ที่น่าสนใจอีกว่า ถ้ามีการลักบัตรเครดิตที่ธนาคารได้ส่งไปรษณีย์ไปให้กับเจ้าของบัตร โดยที่เจ้าของบัตร เองก็ไม่ทราบว่าธนาคารได้จัดส่งบัตรมาให้ตนแล้ว ผู้ที่ลักบัตรเครดิตไปจะทำการลงลายมือชื่อเจ้าของบัตร ไว้หลังบัตรและนำบัตรเครดิตไปใช้ ส่วนร้านค้าผู้รับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการผ่านบัตรเครดิตก็ไม่สา มารถทราบได้ว่าผู้ถือบัตรเป็นเจ้าของบัตรที่แท้จริงหรือไม่ เนื่องจากลายมือชื่อในใบบันทึกการขายกับลาย มือชื่อบนบัตรเครดิตเป็นลายมือชื่อเดียวกัน ผู้กระทำตามลักษณะข้างต้นจะต้องรับผิดในเรื่องลักทรัพย์หรือ ไม่และมีประเด็นที่น่านำมาพิจารณาว่าใครคือผู้เสียหายระหว่างธนาคารผู้ออกบัตรหรือผู้ถือบัตรที่ธนาคาร จัดส่งบัตรไปให้ แม้ว่าในเรื่องนี้จะยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาวางไว้เป็นบรรทัดฐานโดยตรงแต่ก็มีคำพิพาก ษาศาลฎีกาที่อาจเทียบเคียงได้คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๖๗/๒๕๑๗ ซึ่งเป็นกรณีที่มีการกู้เงินกันโดยจำ เลยลงชื่อผู้อื่นเป็นผู้กู้ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยเองเป็นผู้กู้ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมี ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ

 ๒. การยักยอกบัตรเครดิตการกระทำความผิดโดยการยักยอกบัตรเครดิตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒ การยักยอกบัตรเครดิตเป็นเรื่องที่ค่อนข้างก่อให้เกิดปัญหากับธนาคารและเจ้าของบัตรเครดิต เป็นอย่างมาก เนื่องจากเจ้าของบัตรเครดิตไม่อาจทราบได้ว่าบัตรเครดิตถูกนำไปใช้ประโยชน์ อันอาจเป็น กรณีที่เจ้าของบัตรปล่อยให้บัตรอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นโดยที่เจ้าของบัตรไม่ได้อนุญาตให้ใช้ บัตรเครดิตนั้น และเมื่อเจ้าของบัตรได้รับบัตรกลับคืนไปอยู่ในความครอบครอง ผู้กระทำความผิดก็ได้นำ บัตรไปใช้ประโยชน์เสียแล้ว กว่าจะทราบว่ามีการนำบัตรเครดิตไปใช้ก็ต่อเมื่อได้รับแจ้งหนี้จากธนาคารให้ ไปชำระเงินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต ในกรณีเช่นนี้เจ้าของบัตรจึงไม่อาจแจ้งอายัดการใช้บัตรต่อธนาคาร ได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่อาจเทียบเคียงได้คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๗๑๑/๒๕๒๙ ซึ่ง วินิจฉัยว่า ผู้ที่รับฝากทรัพย์มีหนี้หรือหน้าที่ที่จะต้องคืนทรัพย์แก่ผู้ที่ฝากทรัพย์ และจะนำทรัพย์ที่รับฝากไป ใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ที่ฝากทรัพย์ไม่ได้ ปัญหาเรื่องการยักยอกบัตรเป็นเรื่องที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับ ผู้ใช้บัตรเครดิตเป็นอย่างมากไม่น้อยกว่าการกระทำความผิดในเรื่องของการปลอมแปลงบัตรเครดิต โดยมี การเตือนให้ผู้ใช้บัตรเครดิตระวังในการปล่อยให้บัตรอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นดังที่เคยเกิดเป็น คดีขึ้นแล้วในหลายจังหวัด เช่น การฝากทรัพย์สินที่มีค่าไว้กับตู้นิรภัยของโรงแรมหรือสถานที่พักต่างๆ ซึ่ง ได้จัดเตรียมไว้ให้บริการแก่ผู้เข้าพัก ผู้กระทำความผิดซึ่งมีหน้าที่ในการรับฝากทรัพย์สินดังกล่าวก็จะนำบัตร เครดิตของผู้เข้าพักไปใช้ในการซื้อสินค้าหรือบริการตามสถานที่ต่างๆ หลังจากนั้นจึงจะนำบัตรมาคืนก่อนที่ ผู้เข้าพักจะกลับมาถึงที่พักหรือ Check out จากโรงแรมหรือสถานที่พัก นอกจากกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ เจ้าของร้านค้า หรือพนักงานที่ดูแลเครื่องรูดบัตรอาจกระทำการทุจริต โดยการนำบัตรเครดิตซึ่งลูกค้าได้มอบไว้ให้เพื่อชำระ ค่าสินค้าหรือบริการไปรูดผ่านเครื่องก็อปปี้แถบแม่เหล็ก (Skimmer) หลังจากนั้นผู้กระทำความผิดจึงค่อยนำ ข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในการปลอมแปลงบัตรเครดิตต่อไป

 ๓. การปลอมบัตรเครดิตการปลอมบัตรเครดิต คือ การทำเลียนแบบบัตรที่แท้จริง การปลอมบัตรเครดิตนี้สามารถ เทียบได้กับการกระทำความผิดในฐานปลอมเอกสารสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๕ โดยศาล ฎีกาได้เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๕๙๘/๒๕๔๐ วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไว้แล้วว่า จำเลยปลอมบัตรเคร ดิตธนาคารแล้วใช้บัตรเครดิตดังกล่าวรูดกับเครื่องรูดบัตรเครดิตซึ่งธนาคารให้ไว้แก่จำเลยและปลอมเซลสลิป ของบุคคลหลายคนเพื่อแสดงว่าผู้เป็นเจ้าของบัตรเครดิตได้ซื้อหรือใช้บริการด้วยบัตรเครดิตดังกล่าวเป็นความผิด

 สำหรับการปลอมบัตรเครดิตสามารถทำได้หลายวิธี ดังจะได้ยกตัวอย่างไว้ ดังนี้

วิธีแรก โดยวิธีนำข้อมูลที่แท้จริงของบัตรเครดิตมาพิมพ์ข้อมูลบนบัตรและบันทึกข้อมูล บัตรเครดิตลงในแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลของบัตรโดยเครื่องมือที่เรียกว่า Embossing machine ดังกล่าวผู้กระทำความผิดอาจนำเข้ามาจากต่างประเทศหรืออาจจะทำขึ้นเองก็ได้ ซึ่งข้อมูลที่จะถูกบันทึก ลงในแถบแม่เหล็กนั้นจะประกอบไปด้วยหมายเลขบัญชีของผู้ถือบัตร หมายเลขบัตร วันหมดอายุบัตร และ ชุดตัวเลขที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้ออกบัตรเครดิตได้เข้ารหัสไว้ ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นข้อมูลที่ใช้ในการทำ รายการจากการซื้อสินค้าและบริการ นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังเป็นข้อมูลที่ใช้ยืนยันว่าบัตรเครดิตดังกล่าว เป็นบัตรเครดิตที่แท้จริงซึ่งธนาคารเป็นผู้ออกให้ โดยข้อมูลของบัตรเครดิตเหล่านี้ผู้กระทำความผิดอาจได้มา จากสำเนาใบบันทึกการขาย เครื่องก็อปปี้แถบแม่เหล็ก (Skimmer) การหลอกลวงให้มีการบอกข้อมูลของ บัตรเครดิต หรือการนำข้อมูลจากการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น หลังจากที่ได้ทำการพิมพ์และ บันทึกข้อมูลลงในแถบแม่เหล็กของบัตรเครดิตแล้ว ผู้กระทำความผิดจะลงลายมือชื่อไว้หลังบัตรเครดิต และนำบัตรเครดิตไปใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ ในส่วนของผู้ให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตก็จะ ไม่สามารถทราบได้ว่าบัตรเครดิตนั้นเป็นบัตรเครดิตปลอมเนื่องจากมีลายมือชื่อที่ตรงกับในบัตรเครดิต ซึ่ง ในท้องตลาดมีการซื้อขายบัตรเครดิตปลอมประเภทนี้กันในราคาประมาณใบละ ๑,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ บาท

 วิธีที่สอง เป็นการปลอมบัตรเช่นเดียวกับวิธีแรกแต่ต่างตรงบัตรที่ใช้ปลอมซึ่งเรียกว่า พลาสติกขาว พลาสติกขาวนี้มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกสีขาวมีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต ผู้ที่กระทำความผิด โดยใช้พลาสติกขาวจะต้องร่วมมือกับร้านค้าเนื่องจากพลาสติกขาวไม่มีลักษณะที่เหมือนกับบัตรเครดิตเลย เช่น ไม่มีตราของธนาคารหรือลวดลายที่บัตรเครดิตนั้นๆ จะต้องมี เมื่อได้มีการปลอมบัตรเครดิตแล้วก็จะมี การนำมารูดผ่านเครื่องรับบัตร หลังจากนั้นร้านค้าจะนำใบบันทึกการขายไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารต่อไป สำหรับการปลอมบัตรเครดิตนั้น อาจเกิดจากการผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าของบัตรเคร ดิตเอง ร้านค้า หรืออาชญากรก็ได้ ในกรณีของเจ้าของบัตรเครดิตนั้นจะนำข้อมูลบัตรเครดิตไปขายให้แก่ ร้านค้าที่ทุจริตหรืออาชญากรเพื่อให้มีการนำข้อมูลไปทำบัตรปลอม หลังจากนั้นจึงไปแจ้งธนาคารว่าบัตร เครดิตหายหรือถูกลักขโมย เป็นต้น ในส่วนของร้านค้าก็จะนำบัตรของลูกค้าไปรูดผ่านเครื่องก็อปปี้แถบแม่ เหล็กหรือนำข้อมูลจากใบบันทึกการขายมาใช้ในการปลอมบัครเครดิต และในกรณีของผู้กระทำความผิดที่ เป็นอาชญากรจะทำการเข้าถึงข้อมูลบัตรเครดิตด้วยวิธีการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วและนำข้อมูลนั้นมาทำ บัตรปลอม สำหรับผู้กระทำความผิดซึ่งทำการปลอมบัตรเครดิตของผู้อื่นนั้นอาจจะร่วมกับร้านค้าที่ทุจริต เพื่อทำการใช้จ่ายผ่านบัตรก็ได้

 ๔. การฉ้อโกง (การแสดงตนเป็นคนอื่น)เมื่อบัตรเครดิตเป็นเอกสารสิทธิซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางทรัพย์สินได้แล้ว การที่บุคคลที่ไม่มีอำนาจกล่าวคือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบัตรเครดิตให้นำบัตรเครดิตไปใช้ อาจจะด้วย วิธีการขโมยหรือยักยอกบัตรเครดิตของผู้อื่น ผู้ที่นำไปใช้นั้นจะต้องแสดงตนเป็นคนอื่นซึ่งเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ประกอบกับมาตรา ๓๔๒ (๑) และถ้าบัตรเครดิตนั้นได้ถูก ทำปลอมขึ้นและผู้กระทำความผิดได้นำบัตรเครดิตปลอมมาใช้ นอกจากผู้กระทำความผิดจะมีความผิดใน ฐานฉ้อโกงแล้วผู้กระทำความผิดจะมีความผิดในฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๒๖๕ และมาตรา ๒๖๘ อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีการเอาบัตรผู้อื่นไปใช้

ผู้เสียหายคือธนาคารไม่ใช่ผู้ถือบัตรที่ถูกปลอมลายมือชื่อตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๐๑๘/๒๕๔๒

 ๕. การปลอมใบบันทึกการขายและนำใบบันทึกการขายปลอมไปใช้การปลอมใบบันทึกการขายและการนำใบบันทึกการขายปลอมไปใช้เป็นความผิดฐาน ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา ๒๖๕ และมาตรา ๒๖๘ แล้ว ยังเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม มาตรา ๓๔๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วย ดังคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๐๔/๒๕๔๓ และฎีกาที่ ๔๐๑๘/๒๕๔๒ การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในฐานนี้อาจเป็นกรณีที่เกิดจากการกระทำความผิดของร้านค้า ที่ทุจริต หรือพนักงานของร้านค้านั้นๆ กระทำการทุจริตโดยที่เจ้าของร้านค้าไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำ ความผิดนั้น ซึ่งในการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเครื่องรับบัตรเครดิตมีระบบการทำงานดังนี้ เมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการ เจ้าของร้านหรือพนักงานของร้านจะนำบัตรเครดิตของลูก ค้าไปรูดผ่านเครื่องรับบัตรเครดิตหรือที่เรียกกันว่า EDC Terminal ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำราย การชำระค่าซื้อขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งร้านค้าจะต้องขออนุมัติติดตั้งเครื่องรับบัตรเครดิตและต้องเปิดบัญชี กับธนาคาร ธนาคารจะทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้านค้าก่อนที่จะอนุมัติให้ติดตั้งเครื่องรับบัตร เครดิตซึ่งร้านค้าจะต้องมีคู่สายโทรศัพท์เพื่อใช้ในการติดต่อกับธนาคารผ่านระบบเน็ตเวอร์ก โดยที่การทำ รายการชำระค่าสินค้าและบริการนั้น เจ้าของร้านจะทำการรูดบัตรเครดิตของลูกค้าผ่านเครื่องรับบัตรเครดิต เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ หลังจากที่เครื่องทำรายการแล้วจะส่งข้อมูลการทำรายการไปยังธนาคาร ธนาคารจะทำการตรวจสอบและเก็บข้อมูลพร้อมกับส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องรับบัตรเครดิต เมื่อเครื่องรับ บัตรเครดิตได้รับข้อมูลแล้วก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลและจัดเก็บรายการที่ธนาคารส่งกลับมาพร้อมกับ พิมพ์ใบบันทึกการขายสินค้า เจ้าของร้านหรือพนักงานก็จะนำมาให้ลูกค้าตรวจสอบและลงชื่อรับรองค่าสิน ค้าหรือค่าใช้บริการที่ชำระด้วยบัตรเครดิตผ่านเครื่องรับบัตรเครดิตดังกล่าว การกระทำความผิดที่เกิดจากการปลอมใบบันทึกการขายของร้านค้าที่ทุจริตหรือพนัก งานที่ทุจิตอาจกระทำได้โดย

 ๕.๑ การนำบัตรเครดิตของลูกค้ามารูดชำระค่าสินค้าและบริการมากกว่า ๑ ครั้ง หลังจาก นั้นจึงค่อยปลอมลายมือชื่อของลูกค้าในบันทึกการขายที่เหลือ

๕.๒ การใช้บัตรเครดิตปลอมทำรายการ โดยอาจเป็นกรณีที่เจ้าของร้านหรือพนักงาน ทุจริตแอบก็อปปี้ข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าโดยเครื่องก็อปปี้แถบแม่เหล็ก (Skimmer) หรือการยอมให้อาช ญากรมารูดบัตรเครดิตชำระค่าสินค้าหรือบริการในร้านและให้ผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งของที่มีราคาน้อย กว่าที่มีการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต

๕.๓ การทำใบบันทึกการขายปลอมโดยไม่มีการทำรายการจริง สำหรับการปลอมใบ บันทึกการขายนั้นเคยมีคำพิพากษาไว้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗/ ๒๕๔๓ ว่า การปลอมใบบันทึก การขายความผิดสำเร็จแม้ว่ายังมิได้มีการลงข้อมูลของร้านค้า จำนวนเงิน รหัสอนุมัติวงเงิน วันที่ทำรายการ และหมายเลขหนังสือเดินทาง แต่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเท่านั้นเพราะยังไม่สามารถนำไปเรียก เก็บเงินได้ จึงมิใช่เอกสารแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ถือไม่ได้ว่าเป็น เอกสารสิทธิมาตรการทางอาญาหรือการกำหนดโทษและฐานความผิดสำหรับการกระทำความผิด เกี่ยวกับบัตรเครดิต เป็นกลไกที่สำคัญของรัฐที่จะทำให้การใช้บริการบัตรเครดิตเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ นอก จากนี้ เป็นการคุ้มครองผู้ถือบัตร ร้านค้าและธนาคารมิให้ต้องตกเป็นเหยื่อจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎ หมาย ดังนั้น การกำหนดมาตรการทางอาญาในเรื่องนี้จะต้องกำหนดให้ครอบคลุมลักษณะของการกระทำ ความผิดที่เกี่ยวข้องทุกประเภท ในส่วนของมาตรการทางอาญาตามกฎหมายไทยนั้นเมื่อพิจารณาเปรียบ เทียบกับมาตรการทางอาญาตามกฎหมายของต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ หรือประเทศฝรั่งเศสแล้ว พบว่า การกำหนดลักษณะของการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตของต่าง ประเทศได้มีการกำหนดลักษณะฐานความผิดไว้กว้างกว่าของประเทศไทย อาทิ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับบัตรเครดิต ได้แก่ ๑. การใช้ หมายเลขบัตรเครดิตโดยทุจริต ๒. การมีไว้ในครอบครองซึ่งบัตรเครดิตที่ได้มาโดยทุจริตจำนวน ๑๕ ใบ หรือมากกว่าเป็นความผิดโดยทันที ๓. ความผิดสำหรับผู้ผลิตบัตรเครดิตปลอมและผู้มีเครื่องมือสำหรับการ ปลอมไว้ในการครอบครอง เป็นต้น

ประเทศอังกฤษมีการกำหนดฐานความผิดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

๑. การหลอกลวงเพื่อให้ได้รับบริการ คือ การแสดงบัตรเครดิตต่อสถานบริการทำให้ผู้ออกบัตรต้องชำระค่าบริการให้แก่สถานบริการ เนื่องจากเข้าใจว่าจะได้รับการชำระคืนจากผู้ถือบัตร

๒. การหลอกลวงเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ทางการเงิน เช่น การใช้บัตรเครดิตโดยไม่สุจริตเกินวงเงินที่กำหนดไว้ หรือใช้บัตรที่ถูกเพิกถอนหรือยกเลิกแล้ว

๓. การครอบครองบัตรเครดิตที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ บัตรเครดิตปลอมและ

๔. การครอบครอง ทำ หรือมีอุปกรณ์ในการทำบัตรเครดิตปลอม เป็นต้น

กฎหมายอาญา

 ส่วนที่สอง การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาให้ครอบคลุมการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับบัตรเครดิตจากปัญหาการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตและการศึกษาเทียบเคียงกับกฎหมาย ต่างประเทศ คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายอาญา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นสมควร เลือกใช้แนวทางในการตรากฎหมายโดยการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้ครอบคลุมการกระ ทำความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางไม่เฉพาะเพียงกรณีของบัตรเครดิต เท่านั้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. สรุปสาระ สำคัญได้ดังนี้

๑. กำหนดนิยามของคำว่า "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" (เพิ่มมาตรา ๑(๑๔) โดยกำหนดให้ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเอกสารสิทธิประเภทหนึ่งที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ซึ่งจะระบุชื่อผู้มีสิทธิใช้ หรือไม่ก็ตาม โดยที่รูปร่างและลักษณะของบัตรอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจะไม่ได้อยู่แต่ในรูปสี่เหลี่ยมผื่นผ้าเท่า นั้น แต่อาจอยู่ในรูปเอกสารหรือวัตถุอื่นใด หรืออาจจะมีรูปลักษณะแตกต่างออกไปที่อาจมีขึ้นต่อไปในอนา คตก็ได้ และกรรมวิธีในการทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวอาจกระทำได้โดยการบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่ง รวมถึงการประยุกต์ในวิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็ก เพื่อให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตร หรือสัญลักษณ์อื่นใด ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ที่ใช้แสดงถึงความเป็นผู้ มีสิทธิใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์นั้น จึงกำหนดนิยามโดยมุ่งหมายให้ครอบคลุมถึงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ประเภท ต่างๆ ทุกชนิด นอกจากนี้ ยังได้นิยามบัตรอิเล็กทรอนิกส์ให้หมายความรวมถึง ข้อมูล รหัส หมายเลข บัญชี หมายเลขชุดอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือทางตัวเลขใดๆ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้โดยไม่มีการ ออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ เช่น การออกรหัส หมายเลขบัญชี หรือหมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้มี สิทธิใช้เพื่อให้ผู้มีสิทธิใช้ได้รหัส หมายเลขบัญชี หรือหมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ในการสั่งซื้อ สินค้าหรหือบริการทางอินเตอร์เน็ต โดยที่ผู้ออกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ไม่ได้ออกเอกสาร หรือวัตถุอื่นใดให้ผู้มีสิทธิใช้ไว้สำหรับแสดงความเป็นเจ้าของสิทธิแต่อย่างใด เป็นต้น

๒. กำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กระทำนอกราชอาณา จักร ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายร้องขอให้ลง โทษ หรือผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอ ให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร (เพิ่มมาตรา ๘(๒/๑))

๓. กำหนดความผิดสำหรับการปลอมหรือแปลง หรือการทำหรือมีเครื่องมือหรือวัตถุ สำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสีย หายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเป็นความผิด (เพิ่มมาตรา ๒๖๙/๑ และมาตรา ๒๖๙/๒) โดยกำหนดให้การกระทำ ความผิดฐานทำหรือมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับการให้ได้มาซึ่งข้อมูลของบัตรอิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น การใช้ อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับดูดข้อมูลในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (Skimmer) แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำของ อุปกรณ์หรือเครื่องมือดังกล่าวเพื่อใช้ในการปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป เป็นความผิด

๔. กำหนดความผิดสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมหรือแปลง หรือเครื่องมือสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลของบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นความผิด (เพิ่มมาตรา ๒๖๙/๓)

 ๕.กำหนดความผิดสำหรับการใช้หรือจำหน่ายบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ทำปลอมหรือ แปลงขึ้นตามมาตรา ๒๖๙/๑ หรือมีบัตรดังกล่าวเพื่อใช้หรือจำหน่ายเป็นความผิด (เพิ่มมาตรา ๒๖๙/๔) ทั้งนี้ ถ้าผู้กระทำความผิดฐานใช้หรือจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้หรือจำหน่ายบัตรดังกล่าวเป็นผู้กระทำ ความผิดปลอมหรือแปลงด้วย ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดแต่เฉพาะความผิดฐานปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็ก ทรอนิกส์ตามมาตรา ๒๖๙/๔ เพียงกระทงเดียว

 ๖. กำหนดความผิดสำหรับการใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลหรือ รหัสบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเป็น ความผิด (เพิ่มมาตรา ๒๖๙/๕ และมาตรา ๒๖๙/๖) ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถือ หรือครอบครองหรือเก็บได้ซึ่งบัตรอิ เล็กทรอนิกส์หรือข้อมูล หรือรหัสบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และนำไปใช้โดยมิชอบเป็นความผิด

 ๗. กำหนดให้การกระทำความผิดในหมวด ๔ ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ถ้าเป็น การกระทำที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า หรือบริการ หรือหนี้อื่นแทน การชำระด้วยเงินสด หรือใช้เบิกถอนเงินสด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่ง หนึ่ง (เพิ่มมาตรา ๒๖๙/๓) อนึ่ง กรณีการกำหนดอัตราโทษสำหรับการกระทำความผิดในหมวดดังกล่าวได้พิจารณา เปรียบเทียบกับความผิดเกี่ยวกับเอกสารสิทธิตามมาตรา ๒๖๕ ถึงมาตรา ๒๖๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยเห็นว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ก็คือการกระทำความผิดเกี่ยวกับเอกสารสิทธินั่น เอง ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่า บริการ หรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด เป็นต้น จึงมีลักษณะเดียวกันกับเอกสารสิทธิที่เป็นเอกสารแห่ง การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการกระทำความผิดฐานดัง กล่าวเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและยังมีการกระทำอย่างแพร่ หลาย คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรกำหนดอัตราโทษให้สูงขึ้น เพื่อความเหมาะสมในการป้องกันและปราบ ปรามความผิดร้ายแรงดังกล่าวต่อไป

 สรุป คือ

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ามาตรการทางอาญาในการควบคุมการประกอบธุรกิจ บัตรเครดิตนั้นนอกจากประมวลกฎหมายอาญาจะได้กำหนดฐานความผิดซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการ กระทำความผิดที่เกี่ยวกับบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็น การขโมยบัตรเครดิตของผู้อื่นไป ย่อมเป็นความผิดฐาน ลักทรัพย์ การปลอมบัตรเครดิตโดยการทำเลียนแบบบัตรที่แท้จริง ย่อมเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ หรือการนำบัตรเครดิตของผู้อื่นไปใช้โดยแสดงตนเองเป็นเจ้าของบัตรเครดิต ย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ไว้แล้ว และในปัจุจบันยังได้มีการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อกำหนดฐานความผิดเพื่อให้ ครอบคลุมความผิดที่เกี่ยวกับบัตรเครดิต โดยได้กำหนดให้เพิ่มหมวด ๔ ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ของลักษณะ ๗ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ซึ่งหากร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายอาญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับย่อมเป็นที่เชื่อได้ว่าจะสามารถบังคับใช้กับการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับ บัตรเครดิตได้อย่างครอบคลุม อันจะส่งผลให้การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตลดน้อยลง

1 ความคิดเห็น: