วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

สินสมรส VS สินส่วนตัว แถมด้วยสมรสซ่อนค่ะ

เงินทองเป็นของนอกกาย แต่ก็น้อยคนนักที่จะหักใจ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง หรือ พ่อแม่ลูกก็ตาม เงินก็ทำให้ความรักของคนเหล่านั้นหดหายไปได้หลายคู่ที่แต่งงานโดยไม่ได้คำนึงถึงเธอรวย หรือ ฉันจน หรือใครจะคุมกองคลังของครอบครัว แต่เมื่อความรักล่มสลายทั้งสองฝ่ายต่างต้องประหลาดใจที่กฎหมายระบุต่างจากที่น่าจะเป็น หลายรายเป็นฝ่ายเข้ามาควบคุมกำกับดูแลการใช้จ่ายในครอบครัว แต่เอาเข้าจริงกลับต้องสูญเสียสิ่งที่คิดว่าเป็นสิทธิของตัวเอง เพราะกฎหมายกับความเข้มใจนั้นเป็นคนละเรื่องเดียวกัน

เมื่อแต่งงานกันแล้ว ทรัพย์สินจะถูกจัดสรรเป็นส่วน คือ

1. ส่วนที่เป็นสินสมรส (คือ เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน มีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง) กับ

2. ส่วนที่เป็นสินส่วนตัว (คือ เป็นทรัพย์สินของใครของมัน ไม่กระเด็นไปยังภรรยาหรือสามี)แต่อาจจะสับสนบ้างว่า อย่างไหนที่จะส่วนตัว อย่างไหนที่จะร่วมกันเป็นเจ้าของตามกฤหมาย

สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส และบรรดาที่เป็นสินส่วนตัวด้วย ส่วนสินส่วนตัวนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วก่อนสมรส หรือบรรดาที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัวทั้งหลาย จนถึงเครื่องประดับตามฐานะ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่านอกจากนั้นแล้ว กฎหมายยังขยายความถึงทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสที่มีคนยกให้หรือได้มรดกมาด้วย แต่ถ้ายกให้หรือเป็นมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุว่าให้เป็นสินสมรส ก็ต้องเป็นสินสมรส

เรามักได้ยินข่าวที่พ่อแม่ไม่อยากยกที่ดินให้ลูกสาวที่แต่งงานแล้ว เพราะกลัวจะกลายเป็นสินสมรส แท้จริงแล้ว การยกให้ในระหว่างสมรส ไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรส เว้นเสียแต่ระบุในหนังสือยกให้ว่าเป็นสินสมรส ยิ่งถ้าเป็นมรดกก็แน่นอนที่จะเป็นสินส่วนตัว คู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งในสินส่วนตัวต่อเมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว สินส่วนตัวจึงกลายเป็นมรดกเวลาจะแต่งงานก็ไม่ค่อยคิดเรื่องนี้ จะมานึกออกก็ตอนต้องแบ่งสมบัติ ซึ่งมักจะแบ่งตอนที่ฝ่ายหนึ่งอยากหย่ากับอีกฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะบ้านที่ใช้เป็นเรือนหอของเขาและเธอที่เคยสร้างด้วยเงินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่ง หรือจากการที่พ่อแม่ของฝ่ายหนึ่งยกให้เป็นของขวัญแต่งงานแบบนี้ไม่เหมือนการให้ของขวัญในวันฉลองแต่งงานที่ถือซอง ถือของกันมาเอิกเกริก อย่างนั้นเป็นการให้ที่ชัดเจน ให้แก่คู่บ่าวสาวทั้งสองเนื่องในโอกาสแต่งงาน เป็นสินสมรสแน่นอน แต่ถ้าให้ที่ดิน บ้าน จะให้แน่ต้องสืบตามที่กฎหมายว่าไว้ก็คือ การให้จะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการให้ที่สำนักงานที่ดิน และในการให้ที่จะเป็นสินสมรสนั้น กฎหมายก็เขียนไว้ชัดแจ้งว่า การให้เป็นหนังสือยกให้ต้องระบุว่าเป็นสินสมรส ซึ่งจะเป็นสินสมรส ดังนั้น ถ้าจะให้ใครคนนึงหรือจะให้ทั้งสอง ก็ควรระบุให้ชัดเจน

ยกตัวอย่าง เช่น เสกสรรมีเงินฝากในธนาคารก่อนแต่งงาน เป็นเลข 6 หลัก เขาไม่คิดจะปกปิดภรรยาเพราะทราบดีว่า ถึงรู้ไปก็ไม่น่าเดือดร้อน เพราะเขามีบัญชีร่วมระหว่างเขากับภรรยาแล้ว ส่วนบัญชีเดิมเป็นสินส่วนตัวของเขา แต่หลังจากที่เขากับเธอมีปัญหาจนถึงขั้นแยกทางกัน เงินในบัญชีส่วนตัวของเขาก็ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งสมบัติ และนำไปสู่การฟ้องศาลตามกฎหมาย แม้เงินฝากที่ธนาคารในบัญชีของเสกสรร จะเป็นเงินส่วนตัวที่มีก่อนสมรส แต่ในการฝากเงินย่อมต้องมีดอกผลงอกเงย ภรรยาของเสกสรรไม่ลืมข้อนี้ เธอจึงอ้างเอาดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นสินสมรสมาขอแบ่งด้วยเมื่ออยู่ด้วยกันกว่า 6 ปี จึงมีเงินฝากหลายล้าน งานนี้อดีตคุณผู้หญิงของเสกสรรมีส่วนแบ่งจากดอกเบี้ยไม่น้อยทีเดียวชื่อที่ปรากฏในเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้สินสมรสกลายเป็นสินส่วนตัว เพราะกฎหมายกล่าวว่า ถ้ากรณีที่สงสัยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ฝ่ายที่เถียงว่าไม่ใช่ ต้องมีภาระหน้านที่พิสูจน์ให้ได้ ถ้าเสกสรรเห็นว่าตัวเองทำงานงกเงิ่นอยู่คนเดียว จึงสมควรควบคุมดูแลด้านการเงินทุกอย่างอยู่ในชื่อตัวเขาเอง เงินทองทรัพย์สินเหล่านนั้นก็ยังเป็นสินสมรสอยู่ดี แม้จะไม่มีชื่อภรรยาปรากฏอยู่ก็ตามไม่ว่าจะมีชื่อใครอย่างไร แต่เมื่อเป็นสินสมรสแล้ว กฎหมายให้อำนาจทั้งสองฝ่าย ในการจัดการทรัพย์สินนั้นได้โดยอิสระไม่ต้องมาขออนุมัติก่อน เว้นแต่เสียบางเรื่องที่อาจจะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว กฎหมายก็จะบังคับให้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

สัญญาก่อนสมรส

สัญญาก่อนสมรสต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินอีกนั่นเอง ข้อตกลงพวกนี้ไม่เพียงจะลงชื่อพร้อมพยานเท่านั้น จะต้องนำไปจดแจ้งไว้เป็นหลักฐานในทะเบียนสมรสด้วย จะทำแบบไหนไม่ว่า เช่น ทำเป็นหนังสือสัญญาแล้วนำไปจดในทะเบียนสมรสหรือให้เจ้าหน้าที่นายทะเบียนจดแจ้งให้ก็ได้ การจดแจ้งนี้ต้องทำพร้อมการจดทะเบียนสมรส แน่นอนว่าถ้าทำก่อนก็คงไม่มีใครเขาทำให้ แต่ถ้าทำหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว สัญญานั้นก็จะกลายเป็นสัญญาระหว่างสมรสไป และถ้าไม่จดแจ้งแทงเอาไว้กฎหมายก็ให้สัญญานั้นเป็นโฆษะ

สมรสซ้อน

แต่งงานเป็นเรื่องมงคล หลายคนจึงแต่งงานหลายครั้ง แต่ก่อนที่จะแต่งงานครั้งต่อไป จะต้องเคลียร์การแต่งงานครั้งก่อนเสมอไม่เช่นนั้นบ้านเก่าบ้านใหม่อาจให้โทษได้สำหรับกฎหมายแล้ว การแต่งงาน หมายถึง การจดทะเบียนสมรส การแต่งงานในลักษณะอื่นไม่ได้รับการรับรองทางกฎหมายให้เกิดสถานะสามีภรรยาต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการยกขันหมากแห่รอบหมู่บ้านหรือจัดงานพิธีใหญ่โต กฎหมายไม่ให้สิทธิเรียกร้องอย่างสามีภรรยาหากมีการแต่งงานกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้ามีการจดทะเบียนแล้วเป็นได้เรื่องคนเราอาจมีทะเบียนสมรสหลายใบกับใครหลายคนได้ แต่จะมีในเวลาเดียวกันไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็เข้าข่ายที่เรียกว่าจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายไม่จัดอันดับเบอร์หนึ่งเบอร์สองให้ใครเป็นรองใคร แต่ใช้หลักมาก่อนมีสิทธิก่อนและการมาก่อนนี้ต้องเป็นการมาถึงนายทะเบียนก่อน หากมาอยู่กินเสียก่อนแล้วมัวรอฤกษ์จดทะเบียนหรืออิดเอื้อนเล่นตัวก็อาจได้เลิกรากัน ถ้าเขาหรือเธอไปแอบจดทะเบียนกับคนอื่น คนมาหลังแต่ถึงที่หมายก่อนก็ได้สิทธิไปเพระใบทะเบียนสมรสนั่นเองการจตทะเบียนซ้อนกฎหมายให้เป็นโฆษะไปเลย ไม่ต้องเสียเวลาไปฟ้องร้องให้ศาลสั่งว่าการสมรสรายหลังเป็นโฆษะ ก็คือการสมรสซ้อนเป็นอันเสียเปล่า ไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนที่ว่าจะรู้ไหมว่าซ้อนอย่างไรก็ไม่ต้องวิตกจริตเกินไป ทางการเขาให้ไปตรวจได้ที่สำนักงานทะเบียนราษฎรเพราะถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียแม้การสมรสซ้อนจะเป็นโฆษะโดยผลของกฎหมาย แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้จดแต้งแทงรายการไว้ในทะเบียน ก็จะไปใช้ยันต่อบุคคลภายนอกไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการทางทะเบียนให้เรียบร้อย ไม่เช่นนั้นเกิดคู่โมฆะไปทำนิติกรรมหรือตัดการอะไรไปก็ไม่สามารถอ้างความเป็นโมฆะไปทำนิติกรรมหรือจัดการอะไรไปก็ไม่สามารถอ้างความเป็นโมฆะยันกับคนนอกวงการได้เรื่องทะเบียนซ้อนแบบนี้ไม่ใช่ผู้ชายจะนิยมเท่านั้น หญิงไทยก็ไม่น้อยหน้าเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งก็น่าเห็นใจคู่ที่ไม่ได้รักกันแล้วไม่อยู่ด้วยกันก็มี แต่ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมจดทะเบียนหย่า เพราะหวงก้างไว้ไม่อยากให้ใครมาได้ตำแหน่ง ทั้งที่ตัวก็ไม่ได้อยากอยู่กับเขาหรือเธออีกต่อไป ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอยากหย่า เพราะต้องการไปจดทะเบียนสมรสกับอีกคนหนึ่งเดือดร้อน รอไม่ไหวจึงตัดสินใจจดซ้อนไปเลยนอกจากความเป็นโมฆะแล้ว อาจมีเรื่องอื่นตามมาเป็นผลข้างเคียงแต่ยิ่งใหญ่ เมื่อเจ้าของทะเบียนใบแรกแจ้งให้ใบหลังทราบว่ามีคู่สมรสรายเดียวกันแล้ว หากรายหลังยังทำเฉย อาจถูกเรียกค่าเสียหายจากการไปสัมพันธ์กับสามีหรือภรรยาของเขาได้ ส่วนผู้รักการสะสมทะเบียนสมรสในขณะเดียวกัน นอกจากจะมีเรื่องกับคู่สมรสทั้งสองแล้ว อาจได้คดีอาญามาประดับประวัติอีกด้วย เพราะทะเบียนสมรสเป็นเอกสารทางราชการ การจดทะเบียนก็ทำกับนายทะเบียน การปิดบังความจริงหรือปดกับเจ้าหน้าที่ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้ว ถือว่าให้ข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทางแก้ของผู้ที่พลาดไปแล้ว ก็คือ เริ่มใหม่หมด มีหลายรายที่ใช้วิธีจดทะเบียนหย่ากับคนก่อนเพื่อให้มีทะเบียนสมรสใบเดียวกับคนหลัง อย่างนี้ไม่มีผล เพราะทะเบียนสมรสที่ซ้อนนั้นเป็นโมฆะแต่แรกแล้ว ดังนั้น เมื่อหย่ากับคนก่อนแล้วก็ต้องย้อนมาจดกับคนใหม่ จะใช้ทะเบียนเดิมไม่ได้ ถ้าจะให้ดีก็พากันไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอเสียเลย

การแต่งงานเป็นเรื่องของคนสองคน แต่ถ้าใครไปทำให้เป็นเรื่องของหลายคนแล้ว เรื่องง่ายๆ ก็กลายเป็นยากเพราะอยากมีทะเบียนสมรสนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น